ปลูกชาเขียวที่ไหนดี
ปลูกชาเขียวที่ไหนดี
ความแตกต่างระหว่างชาเขียวกับชาชินในปัจจุบันสังเกตเห็นว่าคนไทยเริ่มหันกลับมาสนใจเรื่องของสุขภาพมากขึ้นด้วยการดื่มชา บริษัทจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า “เหยา เหยา ที (yao yao tea)” โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากการใส่สารกันบูด น้ำหอม และสีผสมอาหาร เพราะทางบริษัทเราต้องการให้ผู้บริโภคได้รับชาที่มีความอร่อยและเป็นธรรมชาติมากที่สุด วันนี้เรามาเรียนรู้ ปลูกชาเขียวที่ไหนดี กันดีกว่า
ใบชาที่บริษัทผลิตมีดังต่อไปนี้
ชาจินเซวียน
เป็นชาที่เก็บมาจากยอดใบชาอ่อนของต้นชาจินเซวียนอูหลง
ชาไต้หวัน เบอร์ 12 หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ชาจินเซวียน” ต้นชาชนิดนี้เมื่อแตกกิ่งก้านสาขาลักษณะของต้นชาจะเป็นแนวนอน ใบของชาจะเหมือนรูปไข่ สีของใบชาจะมีสีเขียวและต้นกล้าจะมีสีม่วง ใบชาชนิดนี้เหมาะกับการนำมาเป็นใบชา “เปาจ่ง” และชา “อูหลง” ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของใบชาจินเซวียนคือ มีความหอมคล้ายกับกลิ่นของนมซึ่งความหอมในลักษณะนี้จะหาไม่ได้จากใบชาชนิดอื่น ลูกค้าที่สนใจสามารถเข้ามาแวะชมซื้อหาได้จากบริษัทของเรา
ชาซื่อจี้ชุน(ชาสี่ฤดู)
เป็นชาที่เก็บจากยอดอ่อนของใบชาซื่อจี้ชุน
เป็นที่ยอมรับของลูกค้าโดยส่วนใหญ่ในหลายปีที่ผ่านมาว่าชาซื่อจี้ชุนมีกลิ่นที่หอมมาก และลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของใบชาชนิดนี้คือ สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูหนาว จนทำให้ในชาชนิดนี้ติดตลาดมาก
ชาชิงชินอูหลง
เป็นชาที่เก็บจากยอดอ่อนของใบชาชิงชินอูหลง
ลักษณะของชาชิงชินอูหลงมีความหอมกรุ่น และรสชาติหวานอร่อย ทำให้ราคาค่อนข้างสูง โดยปกติแล้วนักดื่มชาจะเรียกว่า “ชาเปาจ่งโดม” ซึ่งชานี้จะปลูกอยู่บนภูเขาที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลที่ 1,000 เมตร ขึ้นไป และเรียกชานี้ว่า “ชาภูเขาสูง หรือชาเกาซัน (หรือตามท้องตลาดจะเรียกว่า ชาอูหลง)”
เนื่องจากบนพื้นที่ของภูเขาสูงจะมีสภาพภูมิอากาศต่ำ ระยะเวลาของแสงแดดค่อนข้างสั้นรวมถึงในเวลาเช้ากับเวลากลางคืนจะมีเมฆหมอกค่อนมาก ทำให้รสชาติความขมของยอดใบชาลดลงและในทางกลับกันกรดในใบชาจะทำปฏิกิริยากับก๊าชไนโตรเจนทำให้เพิ่มความหวานของยอดใบชามากขึ้น นอกจากนี้ลักษณะของใบชาเกาซันจะมีเนื้อใบชาที่หนา จึงทำให้ใบชาค่อนข้างมีสีเขียวสด กลิ่นหอมและรสชาติอ่อนหวาน เวลาที่ชงน้ำชาจะทำให้น้ำชามีสีเขียวปนเหลืองและที่สำคัญชาชนิดนี้ยังสามารถชงได้หลายครั้งอีกด้วย
ชาอูหลง
เป็นชาที่เก็บจากยอดอ่อนของใบชาเกาซันอูหลง
ชาอูหลงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ชาชิน” เป็นชากึ่งหมัก
ลักษณะของชาอูหลง คือ มีความหอมเหมือนกับชาเขียวและกลิ่นของดอกไม้ รวมถึงมีรสชาติความหวานคล้ายกัน
ชาดำ
ชาอู่หลงแท้ ถ้าชงแล้วใบของชาจะคลายตัวออก บริเวณตรงกลางจะมีสีเขียวและขอบของใบชาจะเป็นสีแดง จึงเรียกชาแบบนี้ในชื่อว่า “ชาใบเขียวแกรมแดง”
กระบวนการผลิตชาอูหลงจะเริ่มจากการนำใบชาสดไปผึ่งแดดหลังจากนั้นจึงนำไปเขย่าและอบไอน้ำ แล้วจึงรวนใบชาให้แห้งหลังจากนั้นจึงนำมามวนใบชาให้เล็กลง
ชาชุน (ชาฤดูใบไม้ผลิ)
ชาชุน: ชาชนิดนี้เป็นชาที่ต้องการการปลูกในพื้นที่ที่มีอุหภูมิที่เหมาะสมและมีน้ำฝนอุดมสมบูรณ์มากเพียงพอ นอกจากนี้เมื่อปลูกชาชุนแล้วจำเป็นต้องทิ้งช่วงของฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวไว้ เพื่อให้ต้นชาได้มีการพักตาของต้นชาจึงจะสามารถเริ่มปลูกชาชุนได้อีกครั้ง ลักษณะของใบชาชุนจะอ่อนและมีสีเขียว รสชาติจะหอมและอร่อย
ชาตง (ชาฤดูหนาว)
ชาชนิดนี้มีความหอมและสีน้ำชาที่น้อยกว่าชาชุน ลักษณะของชาอูหลงจะหอมและไม่ค่อยมีรสชาติขม
ชาดำอัสสัม
บริษัทของเรานำชาดำนี้มาจากตอนเหนือของอัสสัมในประเทศอินเดีย ลักษณะโดยปกติของชาดำอัสสัมจะมีกลิ่นหอมเหมือนกับข้าวมอลล์และกลิ่นของวนิลลาซึ่งมีรสชาติทั้งเข้มและอ่อน ดังนั้นรสชาติแบบเข้มจะเหมาะแก่การนำมาทำเป็นชานม แต่รสชาติแบบอ่อนซึ่งมีความหอมหวานของข้าวมอลล์เหมาะแก่การนำมาทำเป็นชาธรรมดา
ชาดำอัสสัมของบริษัทเรามีทั้งที่เป็นเครื่องดื่มแบบร้อนและเครื่องดื่มแบบเย็นซึ่งความหอมของข้าวมอลล์ และหากนำน้ำผึ้งมาใส่จะทำให้มีรสชาติดีขึ้น
ใบชาชาเขียว
ชาเขียวของบริษัทเราผลิตมาจากชาต้าเย่อูหลง (อูหลงใบไม้ใหญ่)
ชาเขียวเป็นชาที่ไม่ใช่ชาหมัก ซึ่งหลังจากเก็บใบชาเขียวที่ไม่เหี่ยวและไม่ได้ผ่านการหมัก เราจะนำใบชามาอบไอน้ำ และรวนให้แห้งโดยใช้อุณหภูมิที่สูงเพื่อให้ใบชาไม่หมัก ดังนั้นใบชาของชาเขียวจะยังคงเหลือส่วนประกอบและคุณค่าโดยส่วนใหญ่ไว้อยู่ อีกทั้งยังทำให้รสชาติของใบชายังคงความสด หอม ทำให้ผู้ที่ดื่มชารู้สึกได้ถึงความเป็นธรรมชาติของใบชามากที่สุด แต่ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคนอนไม่หลับ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่ม
ชาเขียวมะลิ
ชาเขียวของบริษัทเราทำมาจากใบชาต้าเย่อูหลง (อูหลงใบไม้ใหญ่) โดยมีวิธีการทำชาอูหลง ด้วย อี้ ชิน เหนี่ยง เย่
การทำชาเขียวมะลิ คือ ต้องนำดอกมะลิและใบชาเขียวมาทำให้แห้ง
ชาเขียวมะลิเป็นชาที่มีความหอมของดอกมะลิและคุณสมบัติของดอกมะลิ รวมถึงคุณสมบัติของใบชาเขียวด้วย
ใบชาที่ผลิตในบริษัทเราทั้งหมดจะเป็นใบชาที่ผ่านกระบวนการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์โดยใช้แรงงานคนในการเก็บใบชาเท่านั้น
วิธีการทำชาเขียวมะลิเหมือนกับชาอูหลง
วิธีการชงชาจะมีลักษณะเหมือนกับชาอูหลง
สาเหตุที่ทำให้ชาแตกต่างกันเกิดจากกระบวนการทำชา
กระบวนการทำชาโดยส่วนใหญ่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ การทำให้ใบชาเหี่ยว การนำใบชามามวน การหมัก และการทำใบชาให้แห้ง
- ชาดำเป็นชาที่เกิดจากการหมัก 100%
- ชาชินเป็นชาที่เกิดจากการหมักเพียง 15-60% (ชากึ่งหมัก)
- ชาเขียวเป็นชาที่ไม่ได้ผ่านการหมัก(0%)
ในต่างประเทศจะจำแนกชาเป็น 3 ประเภท คือ ชากึ่งหมัก ชาหมัก และชาที่ไม่ได้ผ่านการหมัก กล่าวคือ ชากึ่งหมัก คือ ชาอูหลง ชาหมัก คือ ชาดำ และชาที่ไม่ได้ผ่านการหมัก คือ ชาเขียว
ใบชาที่ผลิตในบริษัทเราทั้งหมดจะเป็นใบชาที่ผ่านกระบวนการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ และไม่ใส่สารกันบูด น้ำหอม และสารเจือสีสังเคราะห์ สามารถดื่มได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย