คู่มือเปิดร้าน ขายชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล By Bluemochatea

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล

หัวข้อทั้งหมด

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล เรียกว่าเป็นปีของธุรกิจร้านชากาแฟเลยทีเดียว ได้รับความนิยมจากทั้งผู้ลงทุนและผู้บริโภค และเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่คนจะสนใจมาขึ้นเรื่อยๆ และผู้บริโภคก็มากขึ้นตาม ยิ่งในช่วง 7-8 ปีหลังนี้ เรียกได้ว่าธุรกิจชา-กาแฟที่เป็นคาเฟ่ได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆและยังมีแนวโน้มที่จะเติมโตขึ้นอีกจึงเป็นที่มาให้ทางบลูมอคค่าเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อให้ง่ายสำหรับผู้คนที่สนใจที่จะเปิดร้านชา-กาแฟ รับรองว่าอ่านจบเปิดร้านได้เลยทีเดียว

1.รูปแบบร้าน

ก่อนอื่นเราต้องรู้ความต้องการและกำลังทุนทรับของเราก่อน ว่าเราสามารถทำร้านได้ขนาดไหน เล็ก กลาง หรือใหญ่

จะแยกเป็นได้ 3 แบบดังนี้

ตัวอย่างร้านชาขนาดเล็ก

ร้านขนาดเล็ก

คือร้านที่เป็นบูธเล็กๆที่ตั้งอยู่ริมทางเป็นร้านที่มีเยอะและต้นทุนในการลงทุนน้อยและสามารถต่อยอดไปสู่ร้านขนาดกลางหรือบูทที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยได้ ตามรูปแบบด้านบน ในส่วนของราคา ของเคาท์เตอร์เเบบสำเร็จรูปน่าจะไม่เกินที่ 30,000 บาท *ในราคานี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเคาท์เตอร์ และรูปแบบที่เราต้องการ ความทนทานอีกด้วย หากว่ามีวัตถุดิบเองแล้วอย่าง ไม้หนา หรือไม้อัด  จะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมากและหากไม่มีฝีมือช่างแล้วจะเสียแค่ค่ามือช่าง ก็ออาจจะไม่เกิน 10,000 บาทด้วยซ้ำ

ข้อดีของร้านขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนน้อย ใช้พื้นที่น้อย เเละเนื่องจากเป็นร้านขนาดเล็กจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายข้อจำกัดของร้านขนาดเล็ก เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยกลุ่มเป้าหมายจึงมักจะเป็นลูกค้าขาจร ข้อจำกัดเนื่องด้วยสถานที่และพื้นที่น้อยจึงไม่สารมารถนั่งที่ร้านได้

ร้านขนาดกลาง

เป็นร้านที่ ได้รับความนิยมมากกว่า แบบอื่นๆ เนื่องจากเป็นร้านที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป ซึ่งในส่วนร้านขนาดกลางนี้ขอแยกย่อยออกเป็นอีก 2 อย่างคือ

แบบที่ 1 เป็นบูธขนาดกลาง ที่อยู่ภายในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆเหมือนตัวอย่างในรูป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเฟรนไชน์ จะไม่เสียค่าอุปกรณ์อื่นๆจะจ่ายแค่ครั้งเดียว ในส่วนนี้จะแยกย่อยออกไปอีก เป็นค่าต่างๆดังนี้

  • ค่าเฟรนไชน์ ซึ่งจะได้รับทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ชา เคาท์เตอร์ ป้าย สูตรชง ฯลฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราคา 500,000 บาท โดยประมาณ (ราคานี้ไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า) ซึ่งในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ จะคิดค่าเช่าพื้นที่ 7,000 – 10,000 บาท ต่อตารางเมตร ยกตัวอย่างเช่น เฟรนไชน์ชาราคา 350,000 บาท ให้เช่าพื้นที่ในห้าง ในเนื้อที่ 16 ตารางเมตร ตารางเมตรละ 7,000 บาท จะเสียเงินค่าเช่าที่ 112,000 นำค่าเฟรนไชน์ 350,000 บาท + ค่าเช่าที่ 112,000 บาท จะใช้เงินทั้งหมด 462,000 บาท โดยประมาณ นี่ยังไม่รวมค่าเช่าที่ที่จะเก็บล่วงหน้า และค่ามัดจำ ดังนั้น ภายใน แต่ละเดือนควรขายให้ได้ 100 แก้วต่อวัน โดยประมาณ  ถ้าขายในราคาแก้วละ 50 บาท 30วัน วันละ100แก้ว โดยขายแก้วละ 50 บาท จะคำนวณได้ดังนี้ 30 X 100 X 50 จะได้ 150,000 บาทต่อเดือน ในที่นี้ต้องขึ้นอยุ่กับลูกค้าและช่วงเวลานั้นๆด้วยว่าเป็นช่วงไหนของปี
จากการสำรวจตลาดธุรกิจเฟรนไชส์ แอดฯมีข้อมูลคร่าวๆของราคาเฟรนไชส์ชื่อดัง แต่ละเจ้าดังนี้
  • ชาพะ.. 100,000 บาท
  • ชายิ้.. 40,000-52,000 บาท
  • ชาปาก.. 69,000 บาท
  • ชาพะเ.. 79,000 บาท
  • ชาช้.. 30,000-69,000 บาท
  • ชาลิ.. 39,000 บาท

(ราคาปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลง)

เป็นราคาช่วงปกติที่ไม่มีโปรโมชั่นลดนะครับ ซึ่งเกือบทุกเจ้า จะให้เพียงอุปกรณ์บางอย่าง (ราคารวมไม่เกินหมื่น) สูตรการชง และสิทธิ์ในการซื้อผงชา
ข้อดี : ถ้าเป็นเจ้าที่มีชื่อเสียง และรสชาติดีจริงๆ จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า แต่ในตลาดจริงๆ ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก!!
ข้อเสีย : ลงทุนสูง ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย ( หากซื้อเฟรนไชส์จะต้องใช้เงินประมาณ 150,000-200,000 บาท ในการเปิดร้าน )
ตู้ร้านชา

แบบที่ 2 เป็นร้านขายชากาแฟขนาดกลางที่เป็นล็อกๆตามห้องแถว หรือเเบบตู้คอร์นเทรนเนอร์  ในที่นี้ขอแยกเป็นอีก 2 แบบ คือ แบบบล็อกห้องแถวและแบบตู้คอร์นเทรนเนอร์ ดังนี้

ร้านชาบล็อกแบบห้องแถว

  • แบบบล็อกห้องแถว  ตัวอย่างในรูป พื้นที่ประมาณ 25-30 ตารางเมตร ราคาจะขึ้นอยู่กับแหล่งชุมชน ว่าเป็นแหล่งชุมชนหรือแหล่งใกล้ๆกับบริษัทที่คนพลุกพล่าน ถ้ายิ่งเป็นแหล่งชุมชนยิ่งมีราคาที่สูงขึ้น โดย ค่าพื้นที่ 10,000 – 70,000 บาทโดยประมาณ ไม่รวมกับค่าอุปกรณ์อื่นๆ
  • แบบตู้คอร์นเทนเนอร์ ตัวอย่างในรูป โดยตู้คอร์เทนเนอร์ จะเเบ่งย่อยลงไปอีก เป็น
  • แบบที่ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ สำเร็จรูป โดยส่วนใหญ่ที่นำมาทำร้าน ชา-กาแฟ จะใช้ขนาดที่ 20 – 40 ฟุต ราคาจะอยู่ที่ 30,000 บาทขึ้นไปตามขนาด + ค่าขนส่งเพิ่มอีก 10,000-20,000 บาท ขึ้นไป *ราคานี้ยังไม่รวมค่าขนส่ง
  • ตู้ร้านชา
ตู้ร้านชา
  • ✔✔แบบที่ 2 ตู้เเบบ เมทัลชีท *เมทัลชีทคือ เอาตรงๆง่ายๆเมทัลชีทก็คือ แผ่นเหล็กที่เอามารีดและทำเป็นลอน ซึ่งจริงๆแล้วแผ่นเมทัลชีท ทำได้หลายอย่าง ทำรั้ว ทำผนัง ทำหลังคา ได้หมด กล่าวคือใช้แผ่นเมทัลชีทอัดโฟมทำเเบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งแบบนี้เราสามารถออกแบบตกแต่งได้ เองเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องซื้อแยก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 60,000 ขึ้นไปไม่รวมตกแต่ง

ร้านชาแบบที่ 3 คาเฟ่ขนาดใหญ่

คาเฟ่ร้านชา-กาแฟ เป็นร้านที่สามารถขยายมาจากร้านขนาดกลางใช้พื้นที่เยอะ ต้นทุนก็จะเยอะตามไปด้วย ร้านขนาดใหญ่ มักได้รับความนิยมจากเหล่านักเรียนนักศึกษา หรือที่มาเป็นหมู่คณะในวันหยุด มีพื้นที่กว้างขวางให้ใช้สอยซึ่งได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรกเลยสำหรับร้านกาแฟ คาเฟ่ขนาดใหญ่คือ ค่าก่อสร้างร้าน  2 – 3 ล้านบาทโดยประมาณ ทั้งนี้ราคาจะขึ้นอยู่กับทั้งวัสดุอุปกรณ์ และ ค่ามือช่าง ราคานี้ยังไม่รวมการตกแต่งภายใน หรือ จะลดต้นทุนค่าก่อสร้างด้วยการ ลดขนาดร้านลงและนำเงินไปเปลี่ยนเป็นเฟอร์นิเจอร์เเบบ Outdoors หรือถ้าจะให้แบ่งย่อยลงไปอีก ก็สามารถออกเป็นตามความเข้าใจได้อีก 3 แบบ คือ

  1. ร้านคาเฟ่แบบ indoor ร้านคาเฟ่เบบ indoor หมายถึงร้านค่าเฟ่เเบบปิด มีขนาดใหญ่กว้างขวาง ค่าใช้จ่ายสูง
  2. ร้านคาเฟ่แบบ outdoor เป็นค่าเฟ่แบบภายนอก ค่าใช้จ่าจะน้อยลง เพราะจะไม่เสียค่าสร้างพื้นที่ในส่วนที่เป็นตึก ร้านในลักษณะนี้ จะอยู่กลางแจ้ง แต่ยังคงคอนเซปต์การใช้พื้นที่กว้างขวาง บรรยกาศที่เป็นธรรมชาติ ส่วนค่าใช้จ่ายจะหนักไปทางการตกแต่งทางธรรมชาติ
  3. ร้านคาเฟ่แบบ ผสม ในส่วนนี้จะเป็นการผสมคาเฟ่ทั้งสองแบบ โดยในพื้นที่จะแบ่งเป็น 2 โซน คือ โซนที่เป็นตึกแบบ ในร่ม และ โซนที่เป็นแบบกลางแจ้ง
คาเฟ่ร้านกาแฟ

ทั้งนี้ งบที่ใช้สร้างก็จะขึ้นอยู่กับ ขนาดพื้นที่ 

คาเฟ่ร้านกาแฟ

2.อุปกรณ์หลัก สำหรับร้านชา-กาแฟ

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งเลยก็คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เลือกให้เหมาะกับร้าน โดยทางบลูมอคค่าจะเเยกเป็นอย่างๆไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

เครื่องชงและวิธีการชง เครื่องชงมีหลายขนาดและหลายราคาต่างกันออกไป ข้อที่ควรคำนึงถึงคือ คุณควรเลือกเครื่องชงให้เหมาะกับร้านของคุณ เราจะแยกขนาดเครื่องชงให้ง่ายๆเป็น 2 แบบคือ

  • ชงแบบถุงกรอง

เหมาะกับร้านขนาดเล็ก และเหมาะสำหรับคนที่มีต้นทุนที่ไม่ค่อยมาก หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าต้องซื้อที่ไหนอย่างไร วันนี้เราเอาแหล่งที่หาซื้อง่ายๆนั้นก็คือ ห้างแม็คโคร หรือสำหรับนักช็อปออนไลน์ ก็สามารถเลือกซื้อได้ใน LAZADA สำหรับการชงแบบถุงกรองแล้วมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ดังนี้

1. หม้อต้มกาแฟ สแตนเลทแบบที่มีรู 3 รู ตามรูปที่แนะนำ หม้อต้มกาแฟ สแตนเลทแบบที่มีรู 3 รู เลือกขนาดตามความเหมาะสมโดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,500-3,000 บาท

2. ต่อมาเป็น แก้วชงกาแฟสแตนเลส เลือกให้เหมาะกับขนาดของหม้อด้วย แก้วชงชาชัก / แก้วชงกาแฟ สเตนเลส 1.5 ลิตร ราคาต่อ 1 เซตจะได้ 3 ชิ้น จะอยู่ที่ 390-450 บาท

3. ถุงกรอง สำหรับกรองชา เลือกซื้อตามชนิดชาไม่ควรเอามารวมกัน ถุงกรองชาพร้อมด้ามจับ ราคาอยู่ที่ประมาณ 30-40 บาท ต่อ 1 ชิ้น หรือทั้งเซต  150-250บาท ราคาขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผ้าขาวบางและด้ามจับ

4. กระบวยตัก ใช้ตักน้ำร้อนตอนกรองชา กระบวยตัก ใช้ตักน้ำร้อนตอนกรองชา  ราคาอยู่ที่ 185-300 บาท

หม้อต้มกาแฟ อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ
แก้วชาชัก อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ
อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ
กระบวย อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ
อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ อุปกรณ์สำหรับร้านชา กาแฟ

 เครื่องชงแบบเครื่องชงกาแฟ

เครื่องชงกาแฟเหมาะสำหรับทุกรูปแบบร้านเลือกขนาดให้เหมาะกับร้าน เช่นเป็นร้านขนาดเล็กก็ควรเลือกเครืองขนาดเล็ก ตามลำดับไปเราจะแบ่งเป็น 3 แบบเพื่อให้เข้าใจง่ายและง่ายต่อการเลือกอีกด้วย

  • เครื่องชงขนาดเล็ก เหมาะสำหรับ ร้านขนาดเล็ก ราคาจะอยู่ที่ 30,000-60,000 บาท ขึ้นอยู่กับโปรหรือสัดส่วนของเครื่อง อุปกรณ์เสริมต่างๆอย่างเช่นรูปต่อไปนี้
เครื่องชงกาแฟ

Rancilio Silvia เครื่องชงกาแฟ : ราคา 35,800.00 ฿

เครื่องชงกาแฟ อุปกรณ์ที่่ใช้สำหรับร้านกาแฟ
KitchenAid เครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ่ รุ่น 5KES100EPM ราคา 49,000.00 ฿
 
ที่แนะนำข้างต้นนี้เหมาะสำหรับร้านขนาดเล็กสามารถหาซื้อง่ายๆได้ผ่านแมคโคร
  • เครื่องชงสำหรับร้านขนาดกลาง ควรใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อยแต่ไม่ควรเทอะทะเกินไป หรืออาจจะใช้แบบขนาดเล็กแต่ควรเพิ่งแรงดันให้แรงมากขึ้นและควรมีอุปกรณ์เสริมต่างๆช่วย ราคาจะอยู่ที่ 50,000-80,000 บาท
เครื่องกรองกาแฟ

ชุดเซ็ทเปิดร้านกาแฟ เครื่องชงกาแฟ+เครื่องบดเมล็ดกาแฟ Nuova Simonelli เครื่องชงกาแฟ Musica Direct 1 Fil + เครื่องบดเมล็ดกาแฟ Rancilio Rocky MD Grinder ราคา 73,900.00 ฿ (ราคาปัจจุบันอาจมีเปลี่ยนแปลง)

เครื่องกรองกาแฟ แนะนำ ราคา
Nuova Simonelli เครื่องชงกาแฟ OSCAR II CONTAINER (สีดำ) 1 เครื่อง ราคา 51,500.00 ฿
  • เครื่องชงกาแฟสำหรับร้านขนาดใหญ่ ราคาจะสูงตามเพราะมีคุณภาพดี ส่วนใหญ่แล้วราคาจะอยู่ที่ 100,000-200,000 บาท หรือจะใช้เครื่องชงแบบขนาดกลางก็ได้ ตัวอย่างเครื่องที่แนะนำมีดังนี้เครื่องชงกาแฟ

ชุดชงกาแฟ เครื่องชงกาแฟ+เครื่องบดเมล็ดกาแฟ Nuova Simonelli เครื่องชงกาแฟ 2 หัว Appia II Compact 2GR V (Black) เครื่องบดเมล็ดกาแฟ Cunill Space Grinder ราคา 119,900.00 ฿ (ราคาปัจจุบันอาจมีเปลี่ยนแปลง)

เครื่องชงกาแฟ ซื้อเครื่องไหนดี

Lacimbali เครื่องชงกาแฟ 2 หัว จากอิตาลี Auto Espresson รุ่น M27 REDT2 ราคา 132,000.00 ฿ (ราคาปัจจุบันอาจมีเปลี่ยนแปลง)

ทั้งหมดนี้ราคาได้อ้างอิงมาจากแม็คโคร นอกจากนี้ยังมีเซตแนะนำสำหรับเปิดร้านกาแฟอีกด้วย

3.อุปกรณ์ อื่นๆที่ร้านชา-กาแฟ ควรมี

  • อุปกรณ์ในการชง
  1. ถังต้มน้ำร้อน (ขนาด 6.8 ลิตร HW ราคา 2500 บาท ) 3 ใบ
  2. กระติกน้ำร้อน ราคา 800 บาท 1 ใบ
  3. เครื่องตีฟองนมไฟฟ้า ราคา 900-1,200 บาท 2 อัน (สำรอง)
  4. แก้วชง (แก้ว หรือสแตนเลส)
  5. แก้วตวงขนาด 6 ออนซ์ และ 1.5 ออนซ์ (แบบมีสเกล) หรือจอกตวงขนาด 1 และ 0.5 ออนซ์
  • อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดอื่นๆ
  1. ถาดพลาสติกสำหรับรองชง 2 ใบ
  2. เหยือกชักชา 3 ใบ
  3. จวักขนาด 4 นิ้ว 1 อัน
  4. กระบวยตักน้ำร้อน 1 อัน
  5. ถุงชักชา 3 อัน
  6. ที่คีบสแตนเลส 1 อัน
  7. กระปุกใส่วัตถุดิบ+ช้อนตวง 6 กระปุก
  8. กระป๋องใหญ่ใส่ผงชา 2 กระป๋อง
  9. ที่คั้นมะนาว 1 อัน
  10. ขวดบีบนมจัมโบ้ 3 ใบ
  11. ที่เปิดกระป๋องนม 1 ชิ้น
  12. ลังใส่น้ำแข็ง 1 ลัง
  13. ที่ตักน้ำแข็ง 1 ชิ้น
  14. จุกปิดโซดา 1 ชิ้น
  15. กระปุกใส่หลอด 1 ใบ
  16. สายหิ้วแก้วเดี่ยว 1 แพ็ค
  17. สายหิ้วแก้วคู่ 1 แพ็ค
  18. ถุงร้อนสำหรับใส่แยกน้ำ 4.5×7 นิ้ว 1 แพ็ค
  19. ถุงหูหิ้ว 1 แพ็ค
  20. แก้ว 16 หรือ 22 ออนซ์ 10 แถว
  21. ฝาโดม 10 แถว
  22. หลอดงอจัมโบ้ 2 ห่อ
รายการประมาณนี้ จะมีค่าทั้งหมดรวมกันประมาณ 15,000-20,000 บาท (ไม่นับรวมเครื่องทำกาแฟนะครับ)
ข้อแนะนำ : ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอันดับแรก และในจำนวนที่เหมาะสมนะครับ
  • วัตถุดิบชา และกาแฟ ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากครับ ทางโรงคั่วชาบลูมอคค่า ของเรามีวัตถุดิบใบชาให้เลือกมากกว่า 8 ชนิด ผงมัทฉะ รวมไปถึงวัตถุดิบกาแฟ ที่มีความหลากหลาย ล้วนแต่ผลิตด้วยความตั้งใจ กรรมวิธีลับเฉพาะตามแบบฉบับของเราเอง เพื่อให้วัตถุดิบของเรา ได้กลายเครื่องดื่มที่ดี รสชาติอร่อย กลิ่นหอมถูกใจใครต่อใครที่ได้ลิ้มลองแน่นอนครับ แอดฯคอนเฟร์ม
  • ( ลิงค์วัตถุดิบชา – กาแฟ – มัทฉะ )
  • วัตถุดิบทั่วไป สามารถหาซื้อได้ตามร้านเบเกอรี่
  1. ผงโกโก้ (ยี่ห้อ ทิวลิป)
  2. น้ำตาลทราย (ยี่ห้อ มิตรผล)
  3. ครีมเทียม (ยี่ห้อ Coffee dreamy)
  4. นมสด (ยี่ห้อ เมจิ)
  5. นมข้น (ยี่ห้อ คาเนชั่น)
  6. ผงมะนาว (ยี่ห้อคะนอร์)
  7. ไซรัปติงฟง ( รสผลไม้ต่างๆ )
  8. ไซรัปลองบีช ( รสวนิลา,คาราเมล )
  9. โซดา
  10. น้ำผึ้ง
ข้อแนะนำ : สามารถปรับเพิ่ม-ลด เปลี่ยนแปลง ได้ตามความเหมาะสม

ชา – กาแฟ

เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับร้านกาแฟหรือคาเฟ่กาแฟ ยิ่งมีให้เลือกเยอะยิ่งดี ชาของโรงคั่วชาบลูมอคค่ามีชาให้เลือกมากมายกว่า 15 ชนิด

ใบชาของ bluemocha Chiang Mai Thailand all product wholesale of tea and coffee in chiang mai

การเลือกชาสิ่งที่แนะนำอย่างแรกเลยก็คือ ชาที่เป็นชาประเภทที่ใรๆก็สั่งกัน คนส่วนใหญ่มักจะสั่งดื่มกันอย่างเช่น ชาเขียว / ชาแดง / ชาไต้หวัน(ชานมไข่มุก) แล้วค่อยๆเพิ่มชาที่น่าสนใจเข้ามาเรื่อยๆ จะช่วยให้ร้านมีอะไรใหม่ๆเสมอ ในส่วนของบลูมอคค่า ผู้อ่านสามารถเลือกได้จามรูปหรือ สามารถเลือกดูสูตรชาอื่นๆหรือสินค้าได้ผ่าน 3 ช่องทาง

แฟนเพจ โรงคั่วชาบลูมอคค่า คลิ๊ก

ไลน์@bluemochacoffe คลิ๊ก

เว็บไซต์ www.bluemochatea.com

ส่วนผสมที่แนะนำ

ส่วนผสมต่าง ๆ เช่น น้ำตาลทราย นมข้นหวาน นมสด ก็จะเป็นยี่ห้อส่วนใหญ่ที่เราแนะนำดังนี้

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล

1. น้ำตาลทราย ยี่ห้อที่แนะนำ ยี่ห้อมิตรผล  ยี่ห้อวังขนาย และ ยี่ห้อลินควรเลือกเป็นน้ำตาลทรายแดงเพราะให้ความหอมต่างกันกับน้ำตาลทรายขาว สามารถเลือกดูน้ำตาลที่เหมาะสำหรับการชงชา-กาแฟได้ที่บทความนี้ คลิก


น้ำตาลสำหรับชงกาแฟ

น้ำตาลสำหรับชงชา กาแฟ ร้านน้ำ ใช้น้ำตาลทรายอะไร

2. คอฟฟีเมท ตัวช่วยที่จะช่วยให้ชา-กาแฟ หอมมันกลมกล่อมขึ้น ยี่ห้อที่แนะนำคือ คอฟฟี่ดรีมมี่ และ ครีม่า ท็อป

3. นมข้นหวาน อีกหนึ่งสารช่วยเพิ่มความหวานช่วยให้เครื่องดื่มเรากลมกล่อมมากขึ้น ยี่ห้อที่ใช้กันส่วนใหญ่ก็จะเป็น คาร์เนชั่น มีหลายขนาด หรือสามารถเลือกได้ตามบทความรีวิวนมข้นหวาน คลิก

4. นมสด อีกหนึ่งไอเท็มสำคัญที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้ชาของเรา ยี่ห้อที่จะเเนะนำคือ ยี่ห้อดัชมิลค์และเมจิ หรือสามารถเลือกอ่านได้ในบทความนมสดได้ดังนี้คลิก 

นมสดสำหรับทำฟองนม

5. นมสำหรับฟองนม เหมาะสำหรับทุกร้านเลยเพราะเป็นสิ่งที่ทุกร้านต้องมีเพื่อตกแต่งเมนูชา เหมาะมากกับการทำเป็นเมนูฟองนม เพื่อช่วยให้เครื่องดื่มน่ากินขึ้น สามารถเลือกใช้นมตามเมนูนมสด หรือบทความนมสดได้ดังนี้คลิก 

ฟองนม คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล
 

4. ทำเลที่ตั้งของร้านและเทคนิค

เลือกทำเลที่ใช่ ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า

ทำเล เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ อย่าคิดแต่ว่ามีที่ทางอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าแพง ๆ  ปรากฎว่าลูกค้าน้อยเกินไปแบบนี้ก็ไม่ไหว ทำให้ต้องออกแรงประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นสังเกตทำเลที่มองไว้ว่ายังขาดเครื่องดื่มแบบไหนบ้าง หรือมีกี่เจ้าแล้ว ยังพอมีช่องทางให้เข้ามาได้อีกมั้ย ถ้าทำได้ก็ต้องทำให้โดดเด่นและแตกต่างกว่าร้านเดิม ๆ ที่มี หรือควรเปลี่ยนทำเลที่มีคู่แข่งน้อยกว่า แต่ลูกค้ายังมีความต้องการ โดยเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการช่วยตัดสินใจเพิ่มเติม ถ้าลูกค้าคือพนักงานออฟฟิศ ก็จะเป็นทำเลแถว ๆ ออฟฟิศใหญ่ ๆ ที่มีพนักงานจำนวนมากก็ควรเลือกประเภทเครื่องดื่มที่ตรงกลุ่ม ทำเลในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ศูนย์ราชการ ในห้างสรรพสินค้า หรือตลาด ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณเงินลงทุนของผู้ประกอบการแต่ละราย ทำเลที่ตั้งที่ดีมีผลต่อความเป็นไปได้หลายๆอย่าง

1.ทำเล มองหาแหล่งที่ตั้งของร้าน ดูความเป็นไปได้ ลู่ทางในการขาย ราคา กลุ่มลูกค้า ค่าเช่า เป็นต้น เลือกตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับตัวเอง
2.เมนูพื้นฐาน อย่างน้อย 20 รายการ ขึ้นป้ายหรือเขียนไว้เพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกเยอะมากขึ้น

3.รายการเมนู เตรียมเมนูที่จะขาย ทั้งชา กาแฟ และอื่นๆ อย่างน้อย 20 รายการ อาทิเช่น เมนูใส่นม เมนูเย็นแบบใส เมนูผสมมะนาว เมนูผสมน้ำผึ้ง เมนูอินตาเลี่ยนโซดา นอกจากนี้ยังมีเมนูอื่นๆ อีกเยอะแยะเลย

 

 

4.สูตรในการชง แล้วจะไปเอาสูตรจากไหน? ทำไม่เป็นจะทำได้มั้ย? บลาๆ ฟังดูวุ่นวายใช่มั้ยครับ ใจเย็นๆไม่ต้องรีบร้อนกระวนกระวายไปครับ แอดฯจะบอกให้ฟังนะครับว่า เพียงแค่สั่งซื้อวัตถุดิบชา หรือกาแฟของเราไป เรามีสูตร สำหรับเมนูชา – กาแฟ – มัทฉะ – นมสด – โกโก้ รวมแล้วมากกว่า 50 รายการเลยครับ แถมให้ฟรี!! ย้ำเลยครับว่า FREE!!! ( ลิ้งค์สูตร )
5.คำนวณต้นทุน-กำไร แอดฯมีวิธีการคำนวนต้นทุนของเครื่องดื่มต่อแก้ว โดยละเอียดมาให้ลองเอาไปใช้กันได้เลยครับ (ลิ้งค์เว็บไซต์ที่มีข้อมูล) โดยเฉลี่ยต้นทุนจะตกอยู่แก้วละ 13-15 บาท (ไม่นับค่าแรง/ค่าเช่า/ค่าก่อสร้างร้าน/อื่นๆ) คำนวณโดยการเปรียบเทียบจากวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ต่อแก้วนะครับ

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล

5.สรุปใจความสำคัญในการเปิดร้านชา-กาแฟ

สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยประมาณ ให้พอได้เห็นภาพกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ (หากไม่มีรายจ่ายข้อไหนก็ตัดออกได้เลยครับ)
1.ค่าเคาเตอร์ 4,000-10,000 บาท (แบบธรรมดา) 2.ค่าตกแต่งร้าน ป้ายญี่ปุ่น ป้ายเมนู 3,000 บาท 3.ค่าอุปกรณ์ครบชุด 15,000-20,000 บาท 4.ค่าวัตถุดิบ(ผงชา 8 ชนิด+กาแฟ) 3,000-5,000 บาท 5.ชุดโต๊ะเก้าอี้ (ถ้ามี) 2,500 บาท 6.ค่าเช่าร้าน……….. บาท (อันนี้ต้องใส่เอาเอง)
รวมแล้วประมาณ 30,000-40,000 บาท ก็สามารถเปิดร้านได้แล้วละครับ*หมายเหตุการทำนวนนี้เป็นเพียงการคำนวนคร่าวๆ เพื่อให้ง่ายต่อการคาดว่าจะใช้เงินประมาณแค่ไหน
ถึงแม้จะดูเหมือนว่าธุรกิจนี้เกิดขึ้นเต็มไปหมด แต่ด้วยเงินลงทุนที่ไม่สูงมากนัก ถ้าใครมีความคิด ตั้งใจและอยากที่จะทำ ก็ควรลองดูสักตั้งไม่เสียหาย ตราบใดที่ยังมีคนเดินหิ้วแก้วเครื่องดื่มเดินไปเดินมากันอยู่ ธุรกิจนี้ก็ยังน่าจะไปได้นะครับ
แอดฯอยากฝากถึงใครหลายๆคนว่า แค่ความอยากที่จะทำ เท่านั้นยังไม่พอครับ ยังจะต้องมีความตั้งใจ ขยัน และอดทนด้วย ในโลกแห่งความเป็นจริงหลายๆสิ่งอาจไม่สวยหรู หรือเป็นไปอย่างที่เราคาดหวังไว้เสมอ แต่แอดฯเชื่อเหลือเกินว่า ความตั้งใจ มุมานะ และอดทน จะพาทุกๆคนผ่านทุกอุปสรรคและปัญหาต่างๆไปได้

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล

6. เทคนิคเพิ่มเติม ในการเปิดร้านชา-กาแฟ

6.1. เลือกรูปแบบแนวทางหรือธีมของร้าน

แบบที่มีสูตรเอง คิดเอง ทำเอง ต้องเพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้าและร้าน อาจจะเป็นการตั้งชื่อเมนูแปลก ๆ เก๋ ๆ ไม่ซ้ำใคร ให้ลูกค้าอยากลอง หรือจดจำได้ และอย่าลืมที่จะสร้างเรื่องราวให้มีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร  บางร้านก็เล่าเรื่องราวถิ่นกำเนิดของกาแฟที่นำมาชง บ้างก็กรรมวิธีชงที่มีใช้ความร้อนกี่องศา มีคุณภาพดียังไง หรือหากเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ก็ควรบอกประโยชน์ของเมนูแต่ละแก้ว ว่าดีอย่างไร แก้วนี้กี่แคลอรี่ ช่วยบำรุงสมอง สายตา รักษามะเร็ง บลาๆๆ รับรองขายได้ขายดี

6.2 การตกแต่งร้านที่เก๋ไก๋ ดูดีมีดีไซน์

เราไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงเสมอไปถึงจะมีดีไซน์ บางร้านแต่งแบบไม่เยอะ ดูแล้วสบาย ๆ แต่มีเอกลักษณ์ หรือแปลกตา น่าเข้าไปแวะเวียนใกล้ ๆ น่ารัก ๆ ดูอบอุ่นและเป็นมิตร ซึ่งมองจากข้างนอกแล้วอยากจะเข้าไปนั่งบ้าง หรือมีมุมถ่ายรูปแบบชิค ๆ ให้ลงโซเชียลอวดเพื่อน ๆ เป็นเทรนด์ที่ขาดไปไม่ได้เลยในยุคนี้ รวมถึงที่กล่าวไปข้างต้น ที่ต้องสร้างเรื่องราว (Story Telling) ให้ลูกค้าอยากบอกต่อ มาแล้วมาอีกแบบแฟรนไชน์ ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน มีมากมายหลายแบรนด์ และหลายขนาดให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบคีออส ร้านขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับมือใหม่ ที่ได้เรียนทางลัด ได้รู้ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การขาย การบริหารและการจัดทำระบบบัญชี แต่มีข้อเสียตรงที่ค่าแฟรนไชน์และเงินลงทุนค่อนข้างสูงซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์และเงินในกระเป๋าเราเองว่าจะใช้แบรนด์ไหนดี

คู่มือเปิดร้านชา-กาแฟ ฉบับครอบจักรวาล

6.3 การบริการ

การบริการเป็นวิธีมัดใจลูกค้าที่ดีที่สุด การพูดคุย ยิ้มแย้มด้วยน้ำเสียงและท่าทีที่เป็นมิตร จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง มีทัศนคติเชิงบวกต่อร้าน และเป็นปากเสียงให้ร้านเราได้อีกด้วยหากไม่ได้ดูแลร้านเอง ก็ต้องหมั่นฝึกอบรมการบริการให้กับพนักงานหน้าร้านสม่ำเสมอนอกจากนี้ ถ้ามีบริการอื่น ๆ เสริมเช่น Wifi , หนังสือ , คอมพิวเตอร์ ให้ด้วยก็จะยิ่งโดดเด่น ขึ้นอยู่กับร้านแถว ๆ นั้นเป็นลักษณะอย่างไร เราจะสร้างความต่างด้วยบริการใด และขึ้นอยู่กับเงินลงทุนในกระเป๋าอีกด้วย