5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด เพื่อดึงรสชาติชาให้ออกมาจนถึงขีดสุด!

หากพูดถึงชา สิ่งที่แว้บเข้ามาในหัวเราก็คงหนีไม่พ้น ชาร้อน ชาไทย ชานมไข่มุก และอีกสารพัดชาที่ฟังแล้วรู้สึกอยากดื่มแก้กระหายขึ้นมาทันที แต่รู้หรือไม่ว่าก่อนที่จะมาเป็นชาร้อน ชาไทย หรือชานมไข่มุกได้นั้น เรามีวิธีชงสกัดใบชาแห้งอย่างไรบ้าง

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด

เราจึงขอนำเสนอ 5 เทคนิคง่ายๆ เรียกได้ว่าเป็นคำแนะนำชั้นยอด ที่คุณไม่ควรพลาด เพื่อดึงรสชาติของใบชาต่างๆ ทั้งหลายเหล่านั้นออกมาให้ได้เต็มประสิทธิภาพ

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด การดึงรสชาติชาออกมาให้ครบ

1. ไม่ควรชงชาในน้ำที่ร้อนจนเกินไป

เนื่องจากน้ำเดือดสามารถทำให้ใบชาเสียรสชาติได้ ดังนั้นเราจึงควรจะเช็คอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมต่อชาแต่ละชนิดก่อนชงเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ชาเขียวกรีนทีหรือเซนฉะ

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด ข้อแนะนำสำหรับชงชา

ชาเขียว หรือ เซนฉะ (Green tea) คือ ยอดอ่อนของชาที่ถูกนำไปอบแห้งทันที โดยไม่ผ่านการหมักใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้ใบชาทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (ปฏิกิริยาออกซิเดชัน) ทำให้ใบชายังคงมีสีเขียวสวย พร้อมกับกลิ่นหอมและรสชาติที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด

เนื่องจากชาเขียว คือ ชาที่ยังไม่ผ่านการหมัก ในใบชาเขียวจึงมีความสด และสารแคทีซินสูง ซึ่งหากชงด้วยน้ำเดือดจัด 100 องศาเซลเซียสเลย จะทำให้ใบชาเหี่ยวเฉา และขับสารแคทีซินออกมาจำนวนมาก ส่งผลให้ชามีรสขม และเสียรสชาติความอร่อยไปอย่างน่าเสียดาย

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการชงชาเขียวกรีนทีและชาเขียวมัทฉะ จึงควรใช้น้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 85 องศาเซลเซียส เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

*** ชาแต่ละชนิดย่อมมีวิธีการชงที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรเช็คอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมต่อชาแต่ละชนิดก่อนชงเสมอ ***

2. ไม่แช่ใบชานานจนเกินไป

ตามปกติด้วยความเคยชินของเรานั้น เรามักจะใส่ชาเติมน้ำร้อนแล้วแช่ทิ้งไว้ พออยากดื่มเมื่อไหร่ก็รินใส่แก้ว และถ้าหากน้ำชาไม่อุ่นแล้ว ก็รินน้ำร้อนเพิ่มเข้าไปนิดหน่อยเพื่อให้ชาอุ่นขึ้น เป็นต้น

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่าย วิธีเคล็ดไม่ลับ ฟรี ไม่ควรแช่ใบชานานเกินไป

แต่ทว่าคุณรู้หรือไม่ว่าการทำแบบนี้ จะทำให้ชาขมและเข้มจนเกินไป อีกทั้งยังทำให้เกิดอาการท้องผูก หรืออาการตาค้างนอนไม่หลับได้ เนื่องจากการแช่ชานานเกินไป จะส่งผลให้สารจำพวกแทนนิน และคาเฟอีนมีปริมาณมากเกินไป

นอกจากข้อเสียก็ยังมีข้อดีอยู่บ้างสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย เพราะเมื่อเราแช่ชาในน้ำร้อนนานๆ แช่ชาเข้มๆ จะมีสารแทนนินละลายออกมาในปริมาณที่มากพอจะไปฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เราท้องเสียได้ ส่งผลให้ อาการท้องเสียหยุดไปเมื่อเราทานชาเข้มๆ นั่นเอง

3. ใช้น้ำร้อนลวกแก้วและกาน้ำชาที่ใช้ก่อนจะชง

ผู้ที่ชงชาอย่างจริงจังอย่างชาวจีน พวกเขาจะเน้นว่าต้องใช้น้ำเดือดจัดๆ เท่านั้น ในการลวกแก้วและกาน้ำชาที่ใช้ก่อนจะชง ซึ่งเราไม่ได้เพียงแค่ลวกเพื่อทำความสะอาดเท่านั้น เราลวกเพื่อต้องการอุ่นภาชนะให้ร้อน ดังนั้นเมื่อเราเทน้ำร้อนเพื่อชงชาลงไป น้ำที่เทลงไปจะไม่เย็นลงเพราะอุณหภูมิของกาน้ำชาหรือแก้วไปเสียก่อน ทำให้ใบชาได้รับน้ำร้อนเต็มที่ และสม่ำเสมอ ส่งผลให้เราสามารถสกัดเอากลิ่น สี และรสของใบชา ออกมาได้อย่างเต็มที่มากที่สุดนั่นเอง

แจกวิธีการชงชา สอนชงชา สอนเทคนิคการสกัดใบชา แจกทริคการชงชาแบบดั้งเดิม แบบมืออาชีพ

4. ชาแบบซองสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องแกว่ง

การชงชาแบบซองสำเร็จใช้เวลาประมาณ 3 นาที จึงจะได้รสชาติและคุณภาพอย่างเต็มประสิทธิภาพของชา ไม่ควรกระตุกซองชาขึ้นหรือลงก่อน แต่ควรปล่อยทิ้งไว้นิ่งๆ รอจนครบ 3 นาที เพียงเท่านี้ก็สามารถลิ้มลองรสชาติของชาได้อย่างเต็มที่แล้ว

5. การจั้มปิ้ง (Jumping)

5 เทคนิคการชงสกัดใบชาอย่างง่ายที่ไม่ควรพลาด สอนจั๊มปิ้งชา จั้มปิ้งชาทำอย่างไร ทำยากไหม

          ” จั้มปิ้ง (Jumping) “ คือ ลักษณะการเคลื่อนไหวของใบชาที่ไหลวนไปมาหลังจากเทน้ำร้อนลงไป โดยการเทน้ำร้อนจากที่สูงให้น้ำร้อนตกกระทบใบชา ซึ่งแรงกระทบจากใบชาจะนำพาให้ใบชาไหลวนเวียนไปทั่วกาน้ำชา ส่งผลให้สามารถสกัดชงใบชาได้อย่างทั่วถึงครบทุกใบ