ชวนน่าหลงใหล ‘ลาเต้อาร์ต’ ศิลปะฟองนมความนิยมที่วาดบนกาแฟ

ลาเต้อาร์ต (Latte Art) นั้นดีต่อใจ มาก ๆ สำหรับคนที่ชอบดื่มกาแฟนม และกาแฟนี่แหละคงจะเป็นเครื่องดื่มประเภทเดียวที่มีการตกแต่งหน้าตาเหมือนกับหน้าเค้ก ซึ่งการทำลาเต้อาร์ต ไม่เพียงแค่ทำเล่น ๆ เพื่อให้กาแฟน่าลิ้มลอง แต่ถึงขนาดที่ว่าการวาดฟองนมบนกาแฟนี้ถูกจัดขึ้นให้มีการแข่งขันกันเลยทีเดียว เพื่อวัดความแม่นยำ ชำนาญการของบาริสต้า

ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การทำลาเต้อาร์ต หรือวาดฟองนมบนกาแฟนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานมากแค่ไหนทำไมถึงได้รับความนิยมกันอย่างมาก แต่จริง ๆ แล้วการแต่งฟองนมนี้เพิ่งจะมามีกระแสตอบรับที่ดีในช่วงประมาณทศวรรษที่ 1980-1990 หรือ พ.ศ. 2523-2533 นี่เอง

ลาเต้อาร์ต

จุดเริ่มต้นของ ลาเต้อาร์ต (Latte Art)  

การวาดลวดลายฟองนมบนกาแฟ หรือ ลาเต้อาร์ต เกิดขึ้นที่ซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเมืองเดียวกันกับกาแฟแบรนด์ดังอย่างสตาร์บัคส์ และไมโครซอฟท์  มีจุดแรกเริ่มมาจากร้านกาแฟที่มีชื่อว่า Espresso Vivace ของ เดวิด โชเมอร์ (David Schomer) 

 เดวิด โชเมอร์  ผู้ที่เรียนจบมาทางด้านมานุษยวิทยา และดนตรีคลาสสิก มีความฝันที่อยากจะเป็นนักเป่าฟลุตมืออาชีพ แต่สุดท้ายเขากลับได้เข้าไปทำงานในกองทัพอากาศ ในหมวดการซ่อมเครื่องบิน และได้มีโอกาสร่วมทำงานกับบริษทโบอิ้ง จนกระทั่งเกษียณอายุจากการเป็นทหารอากาศ เมื่ออายุได้ 50 ปี จึงได้เริ่มมองหางานอื่น ๆ จนมาลงเอยที่การเปิดซุ้มกาแฟเคลื่อนที่ในย่าน Capital Hill ในปี 1988 

ในช่วงที่เปิดซุ้มขายกาแฟนั้น เดวิดก็ไม่ได้มีความสนใจในเรื่องกาแฟมากเท่าที่ควร จนทำให้เขาขายกาแฟอยู่เป็นปีแต่ไม่มีกำไร แต่การขายกาแฟนี่แหละที่ทำให้เขาเริ่มรัก และเห็นความเป็นไปได้ที่อยากขยายธุรกิจกาแฟของเขาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงสร้างความแตกต่างโดยใช้สิ่งที่เขาสนใจอย่างเรื่องศิลปะ ผนวกกับความคลั่งไคล้ในเครื่องยนต์กลไก และยังกล่าวว่า “กาแฟเริ่มกลายเป็นงานศิลปะของผม และผมเริ่มหลงใหลมัน” นั่นจึงทำให้เขาเริ่มทดลองวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำกับกาแฟของเขา และเปลี่ยนจากการเสิร์ฟกาแฟแบบธรรมดา เป็นการทดลองหลาย ๆ อย่าง เพื่อเสิร์ฟกาแฟที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเขา และจึงได้เริ่มทดลอง บวกกับเขียนผลที่ได้จากการทดลองของเขา ลงในวารสารเกี่ยวกับกาแฟ และตีพิมพ์ออกเป็นหนังสือบ้าง

ซึ่งงานทดลองของเขาที่สร้างการเปลี่บนแปลง และถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ เป็นหนึ่งผู้คิดค้นเรื่องลาเต้อาร์ตให้เป็นที่นิยม และรู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะรูปหัวใจ ซึ่งต่อมากลายเป้นเอกลักษณ์ที่ถูกพูดถึงว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเดวิด และงานทดลองเกี่ยวกับเรื่องการรักษาอุณหภูมิของน้ำให้คงที่ไประยะเวลาหนึ่ง ที่เป็นการช่วยเพิ่มรสชาติความหวานให้กับเอสเปรสโซได้ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเครื่องเอสเปรสโซ่และการเสิร์ฟได้ การทุ่มเทของเดวิดจึงทำให้เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงของธุรกิจกาแฟในซีแอตเทิล ทั้งนี้เขายังเปิดโรงเรียนสอนบาริสต้า และร้านกาแฟ  Espresso Vivace ได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในเอสเปรสโซ่ที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ลาเต้อาร์ต

ลาเต้อาร์ตกับการวาดลวดลาย 2 แบบ

ลวดลายของลาเต้อาร์ตนั้นมีนับไม่ถ้วน เพราะไม่ได้เจาะจงว่าต้องวาดรูปแบบไหนเป็นเฉพาะ ขึ้นอยู่กับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของบาริสต้า แต่วิธีการทำนั้นมีอยู่เพียงหลัก ๆ 2 แบบ 

  • แบบ Free Pouring คือการใช้ เหยือกเล็ก ๆ หรือ Pitcher และความชำนาญของบาริสต้าในการวาดลวดลายด้วยวิธีกำหนดน้ำหนักและทิศทางจากการราดฟองนมบนกาแฟ
  •  แบบ Etching คือการใช้เครืองมือคล้ายไม้จิ้มฟัน วาดเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปสัตว์ รูปคนหลังจากราดฟองนมบนกาแฟ

และ รูปหัวใจ เป็นลายแรกที่เกิดขึ้นจากการทำลาเต้อาร์ต โดย เดวิด โชเมอร์ ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนา ทดลองวาดลวดลายหลากหลายแบบ จนได้รับความนิยมอย่างมากที่สุด ถึงขั้นมีการแข่งขันระดับโลก อย่าง World Latte Art Championship 

ลาเต้อาร์ต
ลาเต้อาร์ต

ลาเต้อาร์ต ความนิยมที่ต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ 

การที่จะได้ลาเต้อาร์ตดี ๆ ซักแก้ว นั้นมีเงื่อนไขที่เป็นพื้นฐานสำคัญมาก ก็คือ เครื่องเอสเปรสโซ่ที่ดี และคุณภาพของฟองนมที่ตีจนแตกฟองสวย เนื้อละเอียด ขนาด Micro Foam บวกกับต้องอาศัยความชำนาญ เชี่ยวชาญ ประสบการณ์และเทคนิคเฉพาะตัวของบาริสต้า รวมถึงการพัฒนาในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง 

ซึ่งในเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้ในอดีต การแต่งหน้ากาแฟด้วยฟองนม ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะแค่การตีฟองนมด้วยมือ ทำให้ความสม่ำเสมอ ความแน่นอนของฟองนมที่ได้ไม่มีทางจะออกมาสม่ำเสมอเท่ากันหมด 

แต่ยุคปัจจุบันนี้ยอมรับเลยว่าเทคโนโลยีไปไกลขึ้นได้ทุกวัน และมีส่วนทำให้การดำเนินชีวิตในประจำวันสะดวกสบายมากขึ้น อย่างการทำลาเต้อาร์ต ก็สามารถใช้เครื่องแต่งหน้าโฟม Coffee Ripple ที่สามารถทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ เพียงลิงก์เข้ากับสมาร์ทโฟน และสร้างรูปที่ต้องการได้จากรูปถ่ายในสมาร์ทโฟน แค่นี้ก็ได้ลาเต้อาร์ตลวดลายที่ต้องการแบบง่าย ๆ แล้ว 

ลาเต้อาร์ต

อย่างที่บอกการทำลาเต้อาร์ตไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องใช้ความชำนาญอย่างมากในการวาดลวดลาย บทความนี้ได้รู้จักที่มาของลาเต้อาร์ตแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเรียนรู้ถึงวิธีการทำลาเต้อาร์ตบ้างแล้ว หรืออยากอ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับร้านกาแฟ ร้านชาไข่มุก สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ หน้าบทความ และอย่าลืมแชร์สาระความรู้ให้เหล่าบรรดาเพื่อน ๆ ที่ทำธุรกิจเหมือนกันด้วยนะ

@media screen { .hide-on-screen { display: none; } }

ชา เขียว มะลิ เป็น ใบ ชา อู่ หลง อบ กับ กลิ่น ดอก มะลิ มี ความ หอม กลิ่น ดอก มะ ลิ ผสม กับ ความ เข้ม ชา เขียว แท้ๆ ผ่าน กรรม วิ ธี การ หมัก และ บ่ม ตาม กาล เวลา ที่ เหมาะ สม ชา เขียว มะ ลิ ของ Bluemocha เป็น ชา ที่ ทุก คน สา มา รถ สัม ผัส ความ หอม ได้ ตั้ง แต่ ครั้ง แรก ที่ ชง และ รับ รู้ รส ชาติ ตั้ง แต่ ครั้ง แรก ที่ ดื่ม เหมาะ สำ หรับ ชง ใส่ กับ นม หรือ ชง แบบ เย็น สา มา รถ ชง ได้ทั้ง ถุงกรอง และ ขาย ชา เชียงใหม่ ชาไข่มุก สูตร ต้นตำหรับ หอม อร่อย ได้ กลิ่น ช้า ไต้หวัน แท้ๆ เปิดร้าน ชา กาแฟ ชา เขียว ชาไต้หวัน ชานมไข่มุก ชาไทย เปิด ร้าน ชาไข่มุก